วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อ้างอิง



อ้างอิง
ที่มา
(16 มิ.ย. 2557) http://www.skyscanner.co.th
(16 มิ.ย. 2557) http://www.mcot.net
(16 มิ.ย. 2557) http://travel.truelife.com
(16 มิ.ย. 2557) http://www.unigang.com
(16 มิ.ย. 2557) http://www.stou.ac.th
(16 มิ.ย. 2557) http://pa-tongly.exteen.com

เทศกาลอีสเตอร์


เทศกาลอีสเตอร์ (Easter)

ทางตะวันตกกับตะวันออกกำหนดวันอีสเตอร์ที่ต่างกัน ซึ่งเปลี่ยนไปทุกปี
2014 : 20 เม.ย.



เทศกาลอีสเตอร์ (Easter) แต่ละปีจะไม่ตรงกันและทางตะวันตกกับตะวันออก กำหนดวันอีสเตอร์ที่ต่างกัน ซึ่งเปลี่ยนไปทุกปีด้วย ประเพณีในการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้จะคล้ายๆ กันคือ มีการตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดใน หมู่เด็กๆ




เทศกาลอีสเตอร์ (Easter) คือ เทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์ เพื่อระลึกถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ชาวคาทอลิกในไทยเรียกอีกชื่อว่า ปัสกาเข้าใจว่าคำว่า อีสเตอร์ มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ คือคำว่า Eastre ซึ่งเป็นชื่อเทพธิดาของฤดูใบไม้ผลินักวิชาการบางท่านได้ให้ข้อคิดว่า การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับฤดูใบไม้ผลิตอย่างน้อย 2 ประการ

ประการแรก คือ เทศกาลอีสเตอร์อยู่ในช่วงเกี่ยวกับฤดูใบไม้ผลิต คือระหว่างเดือนมีนาและเมษายน
ประการที่สอง คือ ฤดูใบไม้ผลิตเป็นสัญญาลักษณ์ของชีวิตใหม่ เพราะระหว่างฤดูหนาวที่หิมะตก หรืออากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่จะไม่มีใบ มีลักษณะเหมือนตายไปแล้ว แต่เมื่อฤดูใบไม้ผลิตมาถึง ต้นไม้ที่ดูเหมือนตายไปแล้วก็ผลิใบ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ใช้คำว่า Easter สำหรับวันฟื้นคืนพระชนม์




เทศกาลอีสเตอร์เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ วันอีสเตอร์เป็นวันเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึง กางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปใน แต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์? เพราะเป็นวันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์
นอกจากนี้ เทศกาลอีสเตอร์?ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่ชาวคริสต์ถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียก วันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า




สัญลักษณ์ของเทศกาลอีสเตอร์

เทศกาลอีสเตอร์ เป็นสิ่งที่สื่อความหมายถึงความสุข สมหวัง ชัยชนะ ความอบอุ่น ความสดใส
ไข่ : สื่อถึงชีวิตใหม่ ไข่ ถือเป็นสัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่หรือมีชีวิตใหม่ กางเขนและอุโมงค์ที่ว่างเปล่า เป็น

สัญลักษณ์ของการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์

กระต่าย : สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ
ผีเสื้อ : สื่อถึงชีวิตใหม่ เหมือนผีเสื้อที่ออกมาจากดักแด้และบินสู่ท้องฟ้าเช่นเดียวกับ พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และอยู่ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์
สวนดอกไม้ : สื่อความหมายถึง ความสุขสมหวัง ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ คือดอกลิลี่ หรือดอกพลับพลึงขาวบริสุทธิ์











เทศกาลคาร์นิวัลในเมืองเวนิส


เทศกาลคาร์นิวัลในเมืองเวนิส

15 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม



 งานนี้เป็นเทศกาลเก่าแก่นับพันปี มีบางช่วงพวกเขาสวมหน้ากากออกจากบ้านถึงปีละ 8 เดือนด้วยซ้ำ ไม่ต้องสงสัยว่าเมืองจะเต็มไปด้วยเสน่ห์ลึกล้ำเพียงใด เมื่อผู้คนไม่ว่ายากดีมีจน ซ่อนหน้าตา สถานะ ของตนไว้ภายใต้หน้ากาก และใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงแบบไม่ต้องแคร์ใคร แต่เมื่อพวกออสเตรียเข้ามายึดครอง เวนิสในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ผู้คนไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หน้ากากเปเปอร์มาเช่เพื่อปกปิดหน้าตา และงานเต้นรำสวมหน้ากากก็ถูกห้ามจนกระทั่งถูกฟื้นขึ้นมา ใหม่ ในปี 1979           


             ปัจจุบันหน้ากากสวย ๆ และหมวกแปลกๆ สำหรับงานเทศกาล เป็นของฝากที่ขึ้นชื่อที่สุดจากเวนิส โดยเฉพาะหน้ากากขาวปลายแหลมคล้ายปากนกที่ดูสะดุดตาที่สุด หน้ากากแบบนี้เป็นหน้ากากที่พวกหมอเคยใช้ในสมัยที่กาฬโรค

ระบาดครั้งใหญ่ช่วงศตวรรษที่ 14 และจะใส่สมุนไพรเอาไว้ที่ปลายแหลม เพื่อฆ่าเชื้อในอากาศที่สูดเข้า
           สมัยก่อนนั้นชาวเวนิสเขาสวมหน้ากากกันจน เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยทีเดียว ยิ่งในช่วงศตวรรษที่ 18 ถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองมากของการสวมหน้ากาก ผู้คนในสาธารณรัฐเวนิสสวมหน้ากากออกจากบ้านถึงปีละ 8 เดือนด้วยซ้ำ ไม่ต้องสงสัยว่าเมืองจะเต็มไปด้วยเสน่ห์ลึกล้ำเพียงใด เมื่อผู้คนไม่ว่ายากดีมีจนซ่อนหน้าตาสถานะของตนไว้ภายใต้หน้ากาก และใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงแบบไม่ต้องแคร์ใคร และบางครั้งก็เพื่อมีเซ็กซ์กันโดยไม่ต้องกลัวว่าใครจะจำได้แต่หลังจากการยึดครองของกองทัพของนโปเลียนในปี 1797 เมื่อเวนิสกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลอมบาร์ดี-เวเนเทีย ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป




การยึดครองนำมาซึ่งการสั่งห้ามการจัดงานเฉลิมฉลองงานรื่นเริงเป็นเวลาหลายปี ผู้คนไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หน้ากากเปเปอร์มาเช่เพื่อปกปิดหน้าตา และงานเต้นรำสวมหน้ากากก็ถูกห้าม จนกระทั่งทศวรรษที่ 1970 ประเพณีดั้งเดิมดังกล่าวถูกฟื้นขึ้นมาใหม่ เมื่อกลุ่มของอดีตนักศึกษาอคาเดมี ออฟ ไฟน์ อาร์ต ได้เปิดร้านขายหน้ากากสมัยใหม่แห่งแรกของกรุงเวนิสขึ้นในปี 1978





หน้ากากที่สวมในคาร์นิวัลของเวนิสแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่

     หน้ากากแบบ Commedia dell'Arte ซึ่งเป็นละครตลกในยุคศตวรรษที่ 16-18 ของอิตาลีจะเป็นหน้ากากที่ทำขึ้นตามตัวละครเช่นตัวตลกอย่าง ฮาร์เลควิน กับ ปิเอโรต์




หน้ากากแฟนตาซี ประดิษฐ์ขึ้นตามจินตนาการของช่างทำหน้ากาก
ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับแรงบันดาลใจมาจากการศิลปะการออกแบบในประวัติศาสตร์




หน้ากากแบบดั้งเดิมของชาวเวนิส เช่น หน้ากากขาวปลายแหลมคล้ายปากนก
ซึ่งเป็นหน้ากากที่พวกหมอเคยใช้ในสมัยที่กาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ช่วงศตวรรษที่ 14และจะใส่สมุนไพรเอาไว้ที่ปลายแหลม เพื่อฆ่าเชื้อในอากาศที่สูดเข้าไป




รูปภาพเทศกาลคาร์นิวัล เมืองเวนิส ประเทษอิตาลี














เทศกาลลอยกระทง


เทศกาลลอยกระทง จ.สุโขทัย ประเทศไทย

ประมาณเดือนพฤศจิกายน



งานประเพณีลอยกระทงของไทย มีมาแต่สมัยสุโขทัยโดยมีคติความเชื่อว่าเป็นการบูชา และขอขมาพระแม่คงคาเป็นการสะเดาะเคราะห์และบูชาพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระบาทเป็นต้น งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12
ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง
          บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน กล่าวไว้ว่า การลอยพระประทีป ลอยกระทงนี้เป็นนักขัตฤกษ์ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทั่วกัน ไม่เฉพาะแต่การหลวง แต่จะนับว่าเป็นพระราชพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์อันใดเกี่ยวข้องเนื่องในการลอยพระประทีปนั้น เว้นไว้แต่จะเข้าใจว่า ตรงกับคำที่ว่า ลอยโคมลงแช่น้ำเช่นกล่าวมาแล้ว แต่ควรนับถือว่าเป็นราชประเพณีซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ ตั้งแต่พระนครยังอยู่ฝ่ายเหนือ เมื่อตรวจดูในกฎมนเฑียรบาลซึ่งได้ยกมาอ้างในเบื้องต้น ต่อความที่ว่าพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคมลงน้ำไป มีข้อความต่อไปว่า "ตั้งระทาดอกไม้ในพระเมรุ 4 ระทา หนัง 2 โรง" การเรื่องนี้ก็คงจะตรงกันกับที่มีดอกไม้เพลิงที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามและที่ชลาทรงบาตร บูชาหอพระในพระบรมมหาราชวัง ต่อนั้นไปก็ว่าด้วยการลอยพระประทีปที่ว่าในกฎหมายนี้มีเนื้อความเข้าเค้าเรื่องนพมาศ ซึ่งว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งเป็นพระสนมเอก แต่ครั้งพระเจ้าอรุณมหาราช คือพระร่วง ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินสยาม ตั้งแต่กรุงตั้งอยู่ ณ เมืองสุโขทัย ได้กล่าวไว้ว่าในเวลาฤดูเดือนสิบสองเป็นเวลาเสด็จลงประพาสในลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน พระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายใน ตามเสด็จในเรือพระที่นั่งทอดพระเนตรการนักขัตฤกษ์ ซึ่งราษฎรเล่นในแม่น้ำตามกำหนดปี เมื่อนางนพมาศได้เข้ามารับราชการ จึงได้คิดอ่านทำกระทงถวายพระเจ้าแผ่นดิน เป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ ให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล และคิดคำขับร้องถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระดำริจัดเรือพระที่นั่งเทียบขนานกันให้ใหญ่กว้าง




เอกลักษณ์ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ เป็นที่เลื่องลือ มีทั้งกระทงทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ งานฝีมืออันวิจิตรที่สะท้อนความประณีตของช่างศิลป์เมืองสุโขทัย ตลาดปสานโบราณ หรือ ตลาดแลกเบี้ย การจำลองบรรยากาศการซื้อ ขาย แบบโบราณ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงกลิ่นอายวัฒนธรรมด้วยการแลกหอยเบี้ยแทนเงินสด เพื่อใช้ซื้อขาย อาหารพื้นเมือง และการแสดงแสง สี เสียง สัมผัสเรื่องราวประวัติศาสตร์มนต์เสน่ห์แห่งอารยธรรมเมืองมรดกโลก
          พิธีและกิจกรรมในภาคกลางวันจะมีขบวนแห่นางนพมาศ และการออกร้าน จัดนิทรรศการ ส่วนในเวลากลางคืนจะมีการประดับไฟหรือจุดเทียนตามโบราณสถานต่างๆ ซึ่งมีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของงานประเพณีลอยกระทงสุโขทัย มีจุดประทีปโคมไฟตามโบราณสถาน 3 วัน3 คืน มีการลอยกระทง และจุดดอกไม้ไฟอย่างสวยงามทั่วท้องน้ำและตระพังต่าง ๆ ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีการจัดประกวดกระทงการแสดงแสงเสียงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย ณ บริเวณวัดมหาธาตุ ตลอดจนการแสดงนาฏศิลป์ และมหรสพต่าง ๆ




  สำหรับงานเผาเทียน จังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มีพิธีเผาเทียนแบบโบราณบริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยเชิญชวนให้ประชาชนทั้งหลายร่วมพิธีซื้อตะคัน เผาเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดแล้วนำไปวางบนฐานหรือระเบียงโบสถ์ วิหาร พระเจดีย์ โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทำให้เกิดแสงสว่างระยิบระยับนับร้อยนับพันดวง เป็นบุญกุศลที่ได้ร่วมแรงศรัทธาพร้อมกัน




 นอกจากนี้ ในงานยังมีประเพณี ข้าวขวัญวันเล่นไฟซึ่งเป็นการรับประทานอาหารร่วมกันของผู้มาเยือนเมืองสุโขทัยในโอกาสงานประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ ช่วงเวลาประมาณ 18.00-19.30น. วัตถุประสงค์สำคัญ คือ เป็การรักษาธรรมเนียมไทยในการเลี้ยงข้าวปลาอาหาร เพื่อสร้างความรักความเข้าใจ กระชัสัมพันธไมตรี ทำให้เกิดความสุขความเจริญตลอดทั้งปี บรรยากาศในงานมุ่งเน้นเอกลักษณ์ไทย ทั้งการแต่งกายแบบไทย ๆ การนั่งล้อมวงบนเสื่อ การใช้โตกแทนโต๊ะอาหาร การเลือกอาหารพื้นบ้าน การตั้งอาหารย้อนสู่ยุคสุโขทัยเป็นราชธานี การแสดงของท้องถิ่นสุโขทัย ตลอดจนการบรรเลงดนตรีไทย โดยประเพณี ข้าวขวัญวันเล่นไฟเริ่มจัดเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2536 และจัดต่อเนื่องมาทุกปี
สำหรับกิจกรรมอื่น นอกเหนือจากการลอยกระทง เผา เทียน เล่นไฟ และข้าวขวัญวันเล่นไฟ มีดังนี้
          • ชมโบราณสถานในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ยามค่ำคืน Light Up
          • ชมและเลือกซื้อสินค้าของดีสหกรณ์ 4 ภาค และผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP)
          • ชมการแสดงตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์
          • พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข พร้อมร่วมพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์สุโขทัยทุกพระองค์ ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
          • ชมขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ขบวนแห่ประเพณีวัฒนธรรม 9 อำเภอ และขบวนนางนพมาศ











เทศกาลน้ำแข็งเมืองฮาร์บิน



เทศกาลน้ำแข็งเมืองฮาร์บิน (Harbin Ice Festival) ประเทศจีน

ธันวาคม – มกราคม




ถ้าพูดถึงหน้าหนาวแล้วล่ะก็ ใครๆ ก็คงต้องนึกถึง เทศกาลน้ำแข็งนานาชาติ เมืองฮาร์บิน ของประเทศจีน และสำหรับปีนี้ เทศกาลน้ำแข็งนานาชาติ เมืองฮาร์บิน 2014 จัดขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ 30 ที่เรียกเสียงฮือฮาจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้เหมือนเคย ต้องรับเทศกาลแห่งความสุขกันไปถ้วนหน้า

ฮาร์บิน (Harbin) เมืองหลวงของมณฑลเหยหลงเจียง (Heilongjiang) อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นเจ้าภาพจัดเทศกาลน้ำแข็งและหิมะอันเย็นยะเยือกนี้ มีจุดเด่นคือการแกะสลักน้ำแข็ง การแสดงตะเกียงน้ำแข็ง เลื่อนน้ำแข็ง เรือใบน้ำแข็ง ฮ็อกกี้น้ำแข็ง ฟุตบอลน้ำแข็ง และอื่นๆ อีกมากมายเท่าที่จะสามารถโยงไปกับน้ำแข็งได้






ความสวยงามตระการตาของงานประติมากรรมน้ำแข็ง ในหลากหลายรูปแบบ ที่จัดแสดงในงานแสดงน้ำแข็งนานาชาติประจำปีครั้งที่ 30 ในเมืองฮาร์บิน ทางภาคเหนือของจีนนั้น ปีนี้นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับงานประติมากรรมน้ำแข็ง ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ไม่ว่าจะเป็นพระราชวัง โบสถ์และเจดีย์ ท่ามกลางแสงสีที่วิจิตรสวยงามค่ะ ซึ่งน่าเสียดายที่ปีนี้ขาดสีสันจากการแสดงดอกไม้ไฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในไฮไลท์สำคัญของการเปิดงานที่จะต้องมีเป็นประจำทุกปี แต่เนื่องจากสภาพอากาศทำให้การแสดงดอกไม้ไฟต้องถูกยกเลิกไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เทศกาลน้ำแข็งนานาชาติ เมืองฮาร์บิน 2014 ก็ยังคงเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอยู่ดี เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึง หน้าหนาว และเทศกาลแห่งความสุขนั่นเอง







ไฮไลท์ของปีนี้อยู่ที่ หอคอยที่โดดเด่นซึ่งเป็นที่สูงไม่น้อยกว่า 26 เมตร และประมาณ 20 ชั้นเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในงานเทศกาล ซึ่งสร้างด้วยน้ำแข็งที่นำมาแกะสลักแต่ละชิ้น บางชิ้นสูงถึง 26 เมตร และกว้าง 117 เมตร เรียกได้ว่าอลังการงานสร้างสุดๆ

สำหรับในปีนี้มรการนำน้ำแข็งมใช้ทั้งหมดถึง 180,000 ตารางเมตร และ หิมะ 150,000 ตารางเมตรด้วยกัน ในยามค่ำคืน น้ำแข็งที่ถูกนำมาสร้างเป็นหอคอย ปราสาท หรืออื่นๆ จะถูกประดับด้วยแสงไฟ สร้างสีสันให้กับนักท่องเที่ยวได้มากทีเดียวค่ะ 





สำหรับใครที่อยากจะไปเที่ยวสักครั้งเทศกาลน้ำแข็งนานาชาติ เมืองฮาร์บิน 2014 นี้มีตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2014 นะคะ อย่าพลาดทีเดียว




คำนำ



คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  กลุ่มสาระการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เป็นเนื้อเกี่ยวกับเรื่อง เทศกาลนานาชาติ  รายงานเล่มนี้เน้นการสร้างความรู้และคำอธิบายเกี่ยวกับเทศกาลนานาชาติของประเทศต่างๆ รายงานเล่มนี้จัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนภายในโรงเรียนในภาควิชาประวัติศาสตร์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ อาทิเช่น เทศกาลบอลลูนนานาชาติอัลบูเควียร์ก  เทศกาลโคมไฟผิงซี  วันแห่งความตาย  เทศกาลน้ำแข็งเมืองฮาร์บิน   เป็นต้น และหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อผู้ที่สนใจงานชิ้นนี้ด้วย หากดิฉันทำผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

(นางสาว ศรศรินทร์  เพ้งหล้ง)

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทศกาลนานาชาติ

เทศกาลนานาชาติ









เสนอ

อาจารย์  ศุภสัณห์  แก้วสำราญ


จัดทำโดย

นางสาว ศรศรินทร์   เพ้งหล้ง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2  เลขที่ 27


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557


โรงเรียนเมืองกระบี่